All Categories
Menu
Categories

ประเพณีภาคเหนือมีอะไรบ้าง ประเพณีภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอื่นๆ

ประเพณีภาคเหนือมีอะไรบ้าง หลายคนคงอยากทราบ เพราะว่าเป็นเมืองล้านนา อาจจะมีวัฒนธรรมต่างๆที่มากมาย ที่คนทางภาคอื่นไม่เคยรู้มาก่อน แต่แน่นอนว่าในภาคอื่นๆ ก็จะมีประเพณีในแต่ละภาค แต่ละจังหวัดอยู่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ทางภาคอีสานก็จะมีงานมหกรรมโปงลาง แพรวากาฬสินธุ์ ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง บุญบั้งไฟ เป็นต้น และอย่างทางภาคใต้ก็จะมี ขบวนแห่ในงานชิงเปรตที่พัทลุง งานชักพระทางน้ำที่จังหวัดตรัง แต่ละภาคแต่ละจังหวัดบางอย่างก็ต่างกัน บางอย่างก็คล้ายกันนั่นเอง

ประเพณีภาคเหนือมีอะไรบ้าง

ประเพณีภาคเหนือมีอะไรบ้าง และวัฒนธรรมที่สวยงาม

ในหนึ่งปีนั้น ประเพณีภาคเหนือมีอะไรบ้าง จะเกิดขึ้นไปตามฤดูกาลของแต่ละช่วงเวลา ซึ่งแต่ละเทศกาลก็นับว่ามีความสำคัญกับชาวเหนืออย่างมาก เราจะพาไปดูกันว่ามีประเพณีอะไรบ้างที่น่าสนใจ เผื่อทุกคนอยากจะไปเที่ยวกันบ้าง

1. ประเพณีสงกรานต์ของภาคเหนือ

ถ้าจะพูดถึงประเพณีสงกรานต์แล้วละก็ น่าจะเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในทุกจังหวัดของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก เข้ามาท่องเที่ยวกัน ในทางภาคเหนือก็มีความสนุกสนานมากและถือเป็นประเพณีช่วงแรกของการเริ่มปีใหม่นั่นเอง ซึ่งกิจกรรมในแต่ละวันคือ

– สำหรับ 13 เมษายน ของทุกปีนั้น หรือที่เรียกว่า วันสังขารล่อง คนทางภาคเหนือจะถือว่า เป็นวันสิ้นสุดของปี โดยจะมีการยิงปืน และจุดประทัด เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี จะมีการทำความสะอาด วัด และบ้านเรือนของตนเอง เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล

– 14 เมษายน หรือวันเนา ในช่วงเช้าทุกคนจะเตรียมอาหาร และเครื่องทำบุญต่างๆ เพื่อเตรียมสำหรับการทำงานบุญ สำหรับตอนบ่ายจะพากันไปขนทราย มาจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเป็นเจดีย์ในวัด เป็นความเชื่อที่ว่าใช้ทดแทนดินหรือทรายที่เราเหยียบออกไปจากวัด

– 15 เมษายน หรือวันพญาวัน ถือเป็นวันที่เริ่มศักราชใหม่ มีการขอพรรดน้ำดำหัวจากผู้ใหญ่ มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุ ซึ่งถือว่าเพิ่มความเป็นมงคลให้กับชีวิต

– และ 16-17 เมษายน เป็นวันที่ทำพิธีทางไสยศาสตร์ สะเดาะเคราะห์ นับว่าเป็นวันปากปี และวันปากเดือน มีการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ โดยชาวล้านนาในภาคเหนือจะมีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตนเอง ญาติพี่น้อง และทำให้บ้านเมืองยืนยาว มีความเจริญรุ่งเรืองได้

2. ประเพณีปอยหลวง

วงเวลาที่จัดงานคือเดือน 5 ถึงเดือน 7 เหนือ (เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3 – 7 วัน ซึ่งประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง ของภาคเหนือ มีเอกลักษณ์ของชาวล้านนา ถือเป็นวัฒนธรรมภาคเหนือที่ก่อให้เกิดความสามัคคีนั่นเอง

3. ประเพณีปอยน้อย บวชลูกแก้ว แหล่ส่างลองเป็นประเพณี บรรพชาของภาคเหนือ

จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน เป็นประเพณีภาคเหนือ หลังมีการเก็บเกี่ยวพืชผลจากไร่นาแล้ว ในพิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่ ซึ่งมีการแห่ลูกแก้ว โดยผู้บวชจะแต่งตัวสวยงามเลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตินิยมว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้เสร็จออกบวช และตรัสรู้ และนิยมใช้ลูกแก้วขี่ม้า, ขี่ช้าง หรือขึ่คอคน ซึ่งประเพณีลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นสถานที่จัดที่มีชื่อเสียงมาก

4. แห่นางแมว

หลายคนคงจะเคยได้ยินประเพณีกันมาบ้างแล้ว ซึ่งในทางภาคเหนือ มีการจัดระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม เป็นการขอฝน เพื่อให้ท้องทุ่งนามีความอุดมสมบูรณ์ และพรั่งพร้อมไปด้วยสายน้ำ เป็นความเชื่อหลังจัดพิธีนี้แล้ว จะมีฝนตกลงท้องทุ่งนา ไม่แห้งแล้ง

5. ประเพณีกรวยสลาก

เป็นประเพณีที่มีการระลึกถึงบุญคุณของบิดามารดา และผู้มีพระคุณทั้งหลาย มีการอุทิศส่วนกุศล สำหรับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก ประเพณีภาคเหนือที่ชาวพุทธจะมีการทำบุญให้ทาน และรับพรจากพระสงฆ์

6. ลอยกระทง

ลอยกระทง มีการจัดขึ้นในเกือบทุกจังหวัด เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่เราเคยทำสิ่งที่ไม่ดี ลงในแม่น้ำ เพื่อเสริมสร้างมงคลให้กับชีวิต ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง เป็นประเพณีภาคเหนือที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันในเดือน 3 หรือช่วงเดือนธันวาคม จะมีประเพณีตั้งธรรมหลวง และมีการทอดผ้าป่าไปถวายวัด

7. ประเพณียี่เป็ง

ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย จะตรงกับวันเพ็ญเดือนยี่ หรือจะเรียกอีกชื่อว่างานลอยกระทง ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่าง จะเรียกว่า พิธีจองเปรียง หรือ ลอยโขมด นั่นเอง

8. ประเพณีลอยโคม

เป็นการสะเดาะห์อย่างหนึ่งตามความเชื่อ ซึ่งโคมลอยจะทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่ ต้องมีการอธิษฐานก่อนจะปล่อนให้โคมนั่นล่องลอยไปตามแสงไฟที่อยู่ภายใน

นอกจากนี้ ประเพณีภาคเหนือมีอะไรบ้าง ยังมีอีกมากมาย ที่เรานำมาฝากกัน ได้แก่

ประเพณีอื่นๆอีกมากมาย เช่น

ประเพณีตานตุง || ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล || ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง || ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ || ประเพณีลอยกระทงสาย || ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า || ประเพณีทอดผ้าป่าแถว || ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า || ประเพณีแข่งเรือยาว || ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ || ประเพณีลอยกระทงสาย ||  ไหลประทีปพันดวง || ประเพณีทานหลัวผิงไฟ